วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบงาน (Easy Asthma Clinic; EAC) โรงพยาบาลดอกคำใต้

ระบบงาน (Easy Asthma Clinic; EAC) โรงพยาบาลดอกคำใต้

Easy Asthma Clinic โรงพยาบาลดอกคำใต้ เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 เปิดให้บริการ ที่คลินิกพิเศษ ทุกวันจันทร์ เวลา 08:30 น. – 12:00 น.

ขั้นตอนการรับผู้ป่วยเข้าคลินิกโรคหืด
1. เข้าพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยเป็น Asthma และนัดมารับบริการที่คลินิกโรคหืด
2. ผู้รับบริการรับวันนัดครั้งต่อไป
ขั้นตอนการให้บริการรายใหม่
1. ยื่นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ สิทธิบัตรต่าง ๆ และใบนัดที่ห้องบัตรผู้รับบริการได้รับบัตรคิวและนั่งรอที่ห้องตรวจ
2. ผู้รับบริการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ ซักประวัติข้อมูลส่วนตัวและประเมินการควบคุมโรคหอบของผู้รับบริการโดยใช้แบบสอบถามตามลำดับคิว
3. ทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย : นักกายภาพบำบัดทำการวัด Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) โดยใช้เครื่อง Peak flow meter เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่ผู้รับบริการสามารถเป่าได้
4. บันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในฐานข้อมูลรวม และขึ้นทะเบียนคลินิกโรคหอบ
5. พยาบาลให้สุขศึกษารายบุคคล
6. เจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
7. พบเจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว เพื่อรับวันนัดครั้งต่อไป
8. รับยาที่ห้องจ่ายยา เมื่อได้รับยาพ่นสูดครั้งแรก เภสัชกรจะสอนเทคนิคการใช้ยาพ่นสูด และประเมินการใช้ยาพ่นสูด พร้อมทั้งอธิบายการใช้ยาแก่ผู้รับบริการ
ขั้นตอนการให้บริการผู้รับบริการรายเก่า
1. ยื่นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ สิทธิต่างๆ และใบนัดที่ห้องบัตรผู้รับบริการได้รับบัตรคิวและนั่งรอที่ห้องตรวจโรคเรื้อรัง
2. ผู้รับบริการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง(ทุก 1 ปี) วัดสัญญาณชีพ ประเมินการควบคุมโรคหอบ ของผู้รับบริการ โดยใช้แบบสอบถามตามลำดับคิว
3. นักกายภาพบำบัดวัด Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) โดยใช้เครื่อง Peak flow meter
4. บันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในฐานข้อมูลรวม
5. เภสัชกรประเมินปัญหาจากการใช้ยา และประเมินทักษะการใช้ยาพ่นสูดแก่ผู้รับบริการทุกคน
6. เจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
7. พบเจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว เพื่อรับวันนัดครั้งต่อไป
8. รับยาที่ห้องจ่ายยา เภสัชกรอธิบายการใช้ยาแก่ผู้รับบริการ
การติดตามประเมินการใช้ยาพ่นสูด โดยเภสัชกร
ผู้ป่วยรายเก่าที่มาตรวจตามนัดหลังจากได้รับการซักประวัติจากพยาบาล และการวัดประสิทธิภาพของปอดโดยนักกายภาพบำบัดแล้ว จะพบกับเภสัชกรเพื่อประเมินทักษะการใช้ยาพ่นสูด และวัดความร่วมมือในการใช้ยา เมื่อพบปัญหาจากการใช้ยาเภสัชกรจะเขียนบันทึกไว้ในเวชระเบียนเพื่อนำเสนอข้อมูลต่อแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา เมื่อพบว่าผู้ป่วยยังไม่ผ่านการประเมินการใช้ยาพ่นสูด ก็จะมีการประเมินซ้ำ ในผู้ป่วยรายใหม่ที่แพทย์สั่งใช้ยาพ่นสูดครั้งแรกจะมีการส่งตัวผู้ป่วยมาพบเภสัชกรเพื่อดำเนินการสอนการใช้ยาพ่นสูดโดยเน้นให้ผู้ป่วยสามารถพ่นยาได้อย่างถูกต้องก่อนกลับบ้าน และมีการติดตามการประเมินการพ่นยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาสูดพ่นรายใหม่ทุกครั้ง การประเมินการใช้ยาพ่นสูดจะใช้แบบประเมินดังนี้คือ

แบบประเมินเทคนิคการใช้ยาสูดพ่น MDI ในผู้ป่วย
ชื่อ-สกุล…………………………………..….HN…………… เลขประจำตัวผู้ป่วยโรคเรื้อรัง…………….
การประเมิน ครั้งที่……………วันที่………………………
ผลการประเมิน
1. จำนวนครั้งที่ใช้ยาพ่นขยายหลอดลม/สัปดาห์

2.เทคนิคการใช้ยาพ่นสูด (ข้อละ 1 คะแนน)

2.1 เขย่าขวดยาให้ยากระจายตัวดี

2.2 เปิดฝาครอบออกแล้วต่อท่อช่วยพ่นยา(ถ้ามี)เข้ากับหลอดยาจนแน่น

2.3 หายใจเข้า-ออก 1 ครั้ง

2.4 หายใจเข้าทางปากพร้อมกดพ่นยา 1ครั้งกับสูดยาเข้าปอดช้าๆลึกๆ

2.5 กลั้นหายใจไว้อย่างน้อย 5-10 วินาที*

2.6 หายใจออกทางจมูกช้าๆ

2.7 หากต้องการพ่นยาซ้ำ ควรทิ้งช่วงจากครั้งแรก 1 นาที

2.8 กรณีพ่นยาสูดสเตียรอยด์ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลังพ่นยาทุกครั้ง

รวมคะแนน ( 8 คะแนน )

Pharmacy’s note



เภสัชกรผู้ประเมิน.........................................................................

การประเมินจะประเมินการใช้ยาพ่นสูดของผู้ป่วยตามข้อที่กำหนด หากผู้ป่วยไม่ผ่านข้อดังต่อไปนี้ถือว่าไม่ผ่านการประเมินคือ ข้อ 2.5 ไม่กลั้นหายใจไว้อย่างน้อย 5-10 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด (Major) ในการใช้ยาพ่นสูด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น